ของเสียอันตรายจากชุมชน
![]() |
ของเสียอันตรายจากชุมชน หมายถึง ของเสียอันตรายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในครัวเรือนและสถานประกอบการพาณิชยกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น อู่ซ่อมรถ สถานีบริการน้ำมัน ร้านล้างอัดขยายภาพ ร้านซักแห้ง ท่าเรือ สนามบิน โรงพยาบาล ห้องปฎิบัติการ พื้นที่เกษตรกรรม ฯลฯ ซึ่งของเสียอันตรายเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกทิ้งร่วมกับมูลฝอยทั่วไป โดยไม่ผ่านการบำบัดและกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและแพร่กระจายของสารอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมเข้าสู่ห่วง โซ่อาหารและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ จากผลการรวบรวมข้อมูลปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ในปี 2546 พบว่ามีของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นประมาณ 400,000 ตัน ซึ่งปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 50 หรือประมาณ 206,000 ตัน พบในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภาคกลาง |
ตัวอย่างของเสียอันตรายจากชุมชน ได้แก่
- ของเสียอันตรายจากบ้านพักอาศัย เช่น ถ่านไฟฉายซึ่งมีสารแคดเมียมซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างกระดูก หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์มีสารปรอทซึ่งทำอันตรายต่อระบบประสาท
- ของเสียอันตรายจากท่าเรือ เช่น สารเคมีเหลือทิ้ง ซากสารเคมีที่ถูกเผาไหม้ น้ำมันและกากน้ำมัน
- ของเสียอันตรายจากการพาณิชยกรรม เช่น สีและทินเนอร์มีตัวทำละลายซึ่งมีฤทธิ์ไวไฟและเป็นพิษ แบตเตอรี่รถยนต์มีแผ่นธาตุตะกั่วที่สามารถทำอันตรายต่อระบบการสร้างเม็ด เลือดแดงของมนุษย์ น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจากสถานีบริการน้ำมัน และสารเคมีจากกระบวนการล้างอัดขยายภาพเป็นต้น
- ของเสียอันตรายจากเกษตรกรรม เช่น ภาชนะบรรจุสารกำจัดแมลงและสารกำจัดวัชพืช ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายสิ่งมีชีวิต
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
![]() |
![]() |
ในปัจจุบันแนวทางการกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนมีหลายวิธี ได้แก่
1. การคัดแยกเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ (Reuse/Reclaim) เป็นการกำจัดของเสียอันตรายบางประเภทที่สามารถรีไซเคิลวัสดุมาใช้ในกระบวน การผลิตได้ เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ หลอดพลูออเรสเซนต์ เป็นต้น
2. การปรับเสถียร/ฝังกลบ (Stabilization/Secure Landfill) เหมาะสำหรับของเสียอันตรายที่เป็นของแข็งหรือกากตะกอน เช่น กรดและด่าง ของแข็งปนเปื้อนโลหะหนักถ่านไฟฉาย สารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ เช่น ผงซักฟอก ยาและเครื่องสำอางที่หมดอายุ เป็นต้น
3. การผสมของเสียเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง (Fuel blending) เป็นการกำจัดสารเคมีประเภทน้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว รวมทั้งของเสียอินทรีย์ สารที่สามารถติดไฟได้ เช่น กาว สี ตัวทำละลาย เป็นต้น
4. การกำจัดโดยระบบเตาเผา (Incineration) เหมาะสำหรับของเสียอันตรายที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการปรับเสถียรและฝัง กลบได้ ของเสียที่นำมาเผาต้องมีค่าความร้อนค่อนข้างสูง เช่น น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว ตัวทำละลาย สารกำจัดศัตรูพืช (รวมทั้งภาชนะปนเปื้อน) เป็นต้น
5. ของเสียที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้านในการกำจัด หรือกำจัดโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ วัตถุระเบิด สารกัมมันตรังสี ของเสียติดเชื้อจากโรงพยาบาล เป็นต้น
แนวทางหนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้ในการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่าง มีประสิทธิภาพ คือ การดำเนินการโดยภาคเอกชนหรือ ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ หรือการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ทำการเก็บรวบรวม การขนส่ง และกำจัดของเสียอันตราย